วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Data Structure And Algorithms

3204-2006 โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม (Data Structure and Algorithms)
จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้
      1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างข้อมูลแบบต่าง ๆ
2. มีความรู้ความเข้าใจในโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลด้วยสื่อประเภทต่าง ๆ
3. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการค้นหาข้อมูลแบบต่าง ๆ
4. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการประมวลผลแฟ้มข้อมูล
5. เห็นคุณค่าของโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม

มาตรฐานรายวิชา
1. อธิบายโครงสร้างข้อมูลประเภทต่าง ๆ
2. ปฏิบัติการประมวลผลแฟ้มข้อมูล


คำอธิบายรายวิชา
                ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับโครงสร้างข้อมูล ลักษณะโครงสร้างข้อมูลเชิงเส้น ตัวแปรชุดการจัดการข้อมูลภายในโครงสร้าง Array, Stack, Queue และ Linked-list เรียนรู้การทำงานและการจัดการข้อมูลภายในโครงสร้าง Tree และกราฟ และเทคนิคการเก็บข้อมูลด้วยอุปกรณ์ภายนอก หลักการและปฏิบัติในการประมวลข้อมูลที่จำเป็นในการจัดระบบแฟ้มข้อมูลประกอบด้วย ระเบียน บล็อก แฟ้มโครงสร้างข้อมูลที่จำเป็นในการจัดระบบแฟ้มข้อมูลแบบต่าง ๆ การเรียงลำดับแบบไบนารี และการค้นหา การสร้างและการจัดการแฟ้มข้อมูล โดยการเข้าถึงข้อมูลแบบลำดับ แบบใช้ดัชนีและแบบแฮช (Hashing) ตลอดจนความผสมผสานวิธีการต่าง ๆ รวมถึงการประยุกต์ใช้งานเข้าด้วยกันเพื่อความเหมาะสมกับงาน

วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

งานแก้ I วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

BSC344 ให้นักศึกษาทำรายงานอธิบายเกี่ยวกับ การเขียนโปรแกรมแบบทำงานตามลำดับ การเขียนโปรแกรมแบบมีทางเลือก และการเขียนโปรแกรมแบบทำซ้ำ


BSC241 ให้นักศึกษาทำรายงานอธิบายเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัญหา 5 ขั้นตอน , การเขียนผังงาน, การเขียน Algorithm และการเขียนรหัสเทียม

=======================
** เขียนด้วยลายมือตนเอง ใส่กระดาษ A4 โดยแต่ละหัวข้อเรื่อง ให้นักศึกษาแสดงตัวอย่างให้เรียบร้อย
รายละเอียดอื่น ๆ ให้เขียนตามรูปแบบการเขียนรายงานโดยทั่วไป กำหนด ไม่ควรต่ำกว่า 15 หน้า A4

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

คำสั่งวนซ้ำ for (ภาษา java)


for (นิพจน์กำหนดค่าเริ่มต้น ; นิพจน์ตรวจสอบเงื่อนไข ; นิพจน์ปรับค่า)
  {
  ชุดคำสั่ง 1 ;
  ชุดคำสั่ง n ;
  }

ตัวดำเนินการเพื่อการเพิ่มค่า หรือลดค่าทีละหนึ่ง


เครื่องหมาย
การดำเนินการ
ตัวอย่าง (x=1)
ผลลัพธ์
ความหมาย
++
เพิ่มค่าทีละหนึ่ง
y=++x
y=2, x=2
บวกค่าในตัวแปร x เพิ่มขึ้น 1
ก่อนทึ่จะกำหนดค่า x ให้กับตัวแปร y


y=x++
y=1, x=2
กำหนดค่า x ให้กับตัวแปร y
ก่อนที่จะบวกค่าในตัวแปร x เพิ่มขึ้น 1
--
ลดค่าทีละหนึ่ง
y=--x
y=0, x=0
ลบค่าในตัวแปร x ลง 1
ก่อนที่จะกำหนดค่า x ให้กับตัวแปร y

แสดงเครื่องหมายเพื่อกำหนดค่า

เครื่องหมาย ตัวอย่าง ความหมาย
+= num += 10; num = num + 10;
-= num -= 10; num = num - 10;
*= num *= 10; num = num * 10;
/= num /= 10; num = num / 10;
%= num %= 10; num = num % 10;

ตัวดำเนินการ (Operator)

แสดงเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์

เครื่องหมาย การดำเนินการ ตัวอย่าง (x=10,y=7,z=2.5) ผลลัพธ์
+ บวก x + y; 17
- ลบ x - y; 3
* คูณ x * y; 70
/ หาร x/z; 4.0
% หารเอาเศษ x%y; 3    

การเขียนโปรแกรมตัดเกรด 5 ระดับโดยใช้คำสั่ง switch-case

ข้อสังเกต    
    1. ข้อมูลที่โจทย์กำหนดเป็นช่วง เช่น 80-100
    2. เงื่อนไขของ case ค่าของตัวแปรในนิพจน์เป็นจำนวนเต็ม( Integer Value)

การแก้ปัญหา
    1.จะต้องหาตัวแทนของกลุ่มเลขที่โจทย์กำหนดเป็นค่าเพียงค่าเดียวในแต่ละกลุ่ม ซึ่งในที่นี้สามารถแบ่งช่วงเลขทั้งหมดเป็น 10 ช่วงได้ โดยใช้ 10 เป็นตัวหาร

    2.ใช้คุณสมบัติของการหาร (/) เลขจำนวนเต็ม (int) จะได้เลขจำนวนเต็มที่ตัดเศษทิ้งของภาษา Java เช่น 79/10 จะได้ผลลัพธ์เป็น 7 ซึ่งจะคลุมตัวเลขตั้งแต่ 70-79 
    3. ด้วยวิธีการหาร จะทำให้ได้เลขจากการหารทั้งหมด 10 ตัว คือ 1, 2, 3, …, 10